ผมขออนุญาตพูดถึงเรื่องอุปกรณ์ WLAN นะครับ โดยเฉพาะ 802.11n standard ซึ่งเป็น มาตรฐานที่เราหลายคนรู้จักกันไปแล้วบ้างนะครับ ไม่มากก็น้อย อาจจะรู้จักผ่านทาง เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่เราได้ซื้อมา เพราะการ์ด wireless เรารองรับ 802.11 b/g/n อะไรทำนองนี้นะครับ ก่อนอื่นผมขออนุญาตเล่าก่อนนะครับว่า 802.11n นี้มันจะเป็น generation ใหม่ของ WIFI ซึ่งสามารถให้ throuput ในการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ได้ถึง 300 Mbps ซึ่งจะมากกว่ามาตรฐาน 802.11a/b/g ในปัจจุบันที่รองรับได้แค่เพียง 54 Mbps เกือบ 6 เท่าเลยทีเดียวครับ นึกภาพง่ายๆ ครับ เมื่อก่อนเราขับรถช่องทางเดียว แถมดินลูกรัง แต่ปัจจุบัน และอนาคตมีเลน หรือช่องทางเดินรถเพิ่มขึ้นมาเป็น 6 ช่องทาง แถมทางเรียบขึ้นอีก ก็จะทำให้รถวิ่งได้เร็วมากขึ้นนั่นเองครับ
ในช่วงนี้เราสามารถใช้งาน 11n แบบเป็น draft ก่อนนะครับ ซึ่ง vendor หลายๆ สำนักก็ได้ทำการผลิต chip ที่รองรับมาตรฐานตัวนี้ Feature ที่น่าสนใจก็คือ MIMO (Multiple Input Multiple Output) มันสามารถรวม channel และเร่งในการส่ง Frame ข้อมูลได้ อีกทั้งยังกันสัญญาณรบกวน Wireless Network ข้างเคียง รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ความถี่เหมือนกัน ซึ่งตัว802.11n นี้รองรับความถี่ได้ที่ 2.4 และ 5 GHz ครับ
ที่เล่าๆ มาเนี่ย เพื่อจะมาจับโยงเข้ากับตัว Cisco SMB ตัวนึงครับ :) ก็คือ WAP4410N ซึ่งเหมาะสำหรับ SMB Solution ครับ หากเป็น Enterprise Solution Cisco จะใช้ product อีกตัว ซึ่งไว้มีโอกาสผมจะมาแนะนำให้ฟังนะครับ ตัว Access Point ที่เหมาะสำหรับ Enterprise Solution นั้น ถูก Implement ไปที่โรงแรมโอเรียลเต็ล ไปเรียบร้อยแล้วครับ
เอาหละผมจะอธิบาย Feature หลักๆ ที่มันสามารถทำได้นะครับ และเป็น key สำคัญของอุปกรณ์ตัวนี้ครับ
- มี LAN พอร์ตเป็นแบบ Gigabit Ethernet (เน้นนะครับว่าเป็น gigabit หากวิ่งได้เพียง 10/100Mbps ก็จะเป็น bottleneck นะครับ เนื่องจาก wireless มันรับอยู่ที่ 300 Mbps เพราะฉะนั้นแล้วต้องสังเกตดีๆ นะครับ บาง product เองบอกว่ารองรับ 802.11n แต่พอร์ตสวิตซ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ network switch นั้นรองรับเพียงแค่ 10/100 Mbps ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องคอขวดขึ้นมาได้ครับ)
- รองรับ POE และ DC Power ครับ เพราะฉะนั้นเราสามารถใช้ power injector มาเสียบเข้ากับตัวนี้ได้ครับ แต่ต้องหา 3'rd party ที่รองรับ 802.3af นะครับ เพราะ Cisco SMB ไม่ได้ทำการผลิต power injector ครับ- รองรับทำ Multiple SSID ได้ไม่น้อยกว่า 4 SSID และสามารถ map เข้ากับ vlan ได้ มีประโยชน์ในการทำ policy แต่ละ SSID ครับ เช่น เราแยกวง guest ออกจากวง office นั่นเองครับ
- สามารถเลือกโหมดการทำงานอุปกรณ์ได้ดังนี้ครับ
1. Access Point Mode
2. Point-to-point Bridge Mode
3. Point-to-multipoint Bridge Mode
4. Repeater Mode
5. Wireless Client Mode
- รองรับระบบความปลอดภัยต่างๆ ดังนี้ครับ
1. WEP 64-Bit/128-Bit
2. WPA-PSK, WPA2-PSK
3. WPA2-ENT
4. WPA-ENT authentication
5. SSID Broadcast enable/disable
6. IEEE 802.1X, IEE 802.1X supplicant
- รองรับการทำ QoS 4 Queues และ WMM Wireless Priority
- Rogue AP detection สามารถ detect access point แปลกปลอมที่เข้ามา network ภายในบริษัท หรือสำนักงานของเราได้
- Auto-Channel selection มันสามารถเลือก channel เองได้ และ switch channel ไม่ชนกันครับ feature นี้จะคล้ายๆ กับ Cisco Aironet เลยครับ
- รองรับการบริหารจัดการอุปกรณ์ผ่าน WEB Brower (HTTP/HTTPS) และ SNMP Version 1, 2c ได้เผื่อใครจะเก็บ log ก็ใช้ SNMP sync ไปเก็บไว้ที่ Log Server ของเราครับ
- เป็น Linux fireware ดังนั้นมันจึงสามารถ upgrade หรือเขียน code ใส่เพิ่มให้มันได้ ซึ่งหลายๆ คนคงชอบครับ :)
รักษาสุขภาพด้วยนะครับ ปลอดภัยจากชิคุนกุนยา และหวัดใหญ่ 2009 โรคนี้มันเริ่มเข้ามาแถวบ้านเราเยอะขึ้น ผมได้รับฟังจากข่าว ที่สงขลาและภูเก็ตก็มีผู้ติดเชื้อหวัดใหญ่ 2009 แล้วด้วย ฝากไว้นิดหน่อยครับ กินของร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ ครับ ฉบับนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ไว้เจอกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ :)
ในช่วงนี้เราสามารถใช้งาน 11n แบบเป็น draft ก่อนนะครับ ซึ่ง vendor หลายๆ สำนักก็ได้ทำการผลิต chip ที่รองรับมาตรฐานตัวนี้ Feature ที่น่าสนใจก็คือ MIMO (Multiple Input Multiple Output) มันสามารถรวม channel และเร่งในการส่ง Frame ข้อมูลได้ อีกทั้งยังกันสัญญาณรบกวน Wireless Network ข้างเคียง รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ความถี่เหมือนกัน ซึ่งตัว802.11n นี้รองรับความถี่ได้ที่ 2.4 และ 5 GHz ครับ
ที่เล่าๆ มาเนี่ย เพื่อจะมาจับโยงเข้ากับตัว Cisco SMB ตัวนึงครับ :) ก็คือ WAP4410N ซึ่งเหมาะสำหรับ SMB Solution ครับ หากเป็น Enterprise Solution Cisco จะใช้ product อีกตัว ซึ่งไว้มีโอกาสผมจะมาแนะนำให้ฟังนะครับ ตัว Access Point ที่เหมาะสำหรับ Enterprise Solution นั้น ถูก Implement ไปที่โรงแรมโอเรียลเต็ล ไปเรียบร้อยแล้วครับ
เอาหละผมจะอธิบาย Feature หลักๆ ที่มันสามารถทำได้นะครับ และเป็น key สำคัญของอุปกรณ์ตัวนี้ครับ
- มี LAN พอร์ตเป็นแบบ Gigabit Ethernet (เน้นนะครับว่าเป็น gigabit หากวิ่งได้เพียง 10/100Mbps ก็จะเป็น bottleneck นะครับ เนื่องจาก wireless มันรับอยู่ที่ 300 Mbps เพราะฉะนั้นแล้วต้องสังเกตดีๆ นะครับ บาง product เองบอกว่ารองรับ 802.11n แต่พอร์ตสวิตซ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ network switch นั้นรองรับเพียงแค่ 10/100 Mbps ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องคอขวดขึ้นมาได้ครับ)
- รองรับ POE และ DC Power ครับ เพราะฉะนั้นเราสามารถใช้ power injector มาเสียบเข้ากับตัวนี้ได้ครับ แต่ต้องหา 3'rd party ที่รองรับ 802.3af นะครับ เพราะ Cisco SMB ไม่ได้ทำการผลิต power injector ครับ- รองรับทำ Multiple SSID ได้ไม่น้อยกว่า 4 SSID และสามารถ map เข้ากับ vlan ได้ มีประโยชน์ในการทำ policy แต่ละ SSID ครับ เช่น เราแยกวง guest ออกจากวง office นั่นเองครับ
- สามารถเลือกโหมดการทำงานอุปกรณ์ได้ดังนี้ครับ
1. Access Point Mode
2. Point-to-point Bridge Mode
3. Point-to-multipoint Bridge Mode
4. Repeater Mode
5. Wireless Client Mode
- รองรับระบบความปลอดภัยต่างๆ ดังนี้ครับ
1. WEP 64-Bit/128-Bit
2. WPA-PSK, WPA2-PSK
3. WPA2-ENT
4. WPA-ENT authentication
5. SSID Broadcast enable/disable
6. IEEE 802.1X, IEE 802.1X supplicant
- รองรับการทำ QoS 4 Queues และ WMM Wireless Priority
- Rogue AP detection สามารถ detect access point แปลกปลอมที่เข้ามา network ภายในบริษัท หรือสำนักงานของเราได้
- Auto-Channel selection มันสามารถเลือก channel เองได้ และ switch channel ไม่ชนกันครับ feature นี้จะคล้ายๆ กับ Cisco Aironet เลยครับ
- รองรับการบริหารจัดการอุปกรณ์ผ่าน WEB Brower (HTTP/HTTPS) และ SNMP Version 1, 2c ได้เผื่อใครจะเก็บ log ก็ใช้ SNMP sync ไปเก็บไว้ที่ Log Server ของเราครับ
- เป็น Linux fireware ดังนั้นมันจึงสามารถ upgrade หรือเขียน code ใส่เพิ่มให้มันได้ ซึ่งหลายๆ คนคงชอบครับ :)
รักษาสุขภาพด้วยนะครับ ปลอดภัยจากชิคุนกุนยา และหวัดใหญ่ 2009 โรคนี้มันเริ่มเข้ามาแถวบ้านเราเยอะขึ้น ผมได้รับฟังจากข่าว ที่สงขลาและภูเก็ตก็มีผู้ติดเชื้อหวัดใหญ่ 2009 แล้วด้วย ฝากไว้นิดหน่อยครับ กินของร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ ครับ ฉบับนี้ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ ไว้เจอกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ :)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น